O4 ข้อมูลคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการปริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ของสถานีตำรวจ

อำนาจ หน้าที่ คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ ของสถานีตำรวจ (กต.ตร.)

ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551 ข้อ 20 ให้ กต.ตร.สน. หรือ ก.ต.ต. สภ. มีอำนาจ หน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. รับแนวทางและนโยบายการพัฒนาและการบริหารงานตำรวจ จากคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลตามนโยบาย
  2. ให้คำปรึกษาและเสนอแนะการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
  3. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจและการบริหารงานตำรวจ
  4. ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
  5. รับคำร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจ และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ว่าด้วยการรับคำร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับ   การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ
  6. ให้ข้อมูลข่าวสารและเสนอปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่
  7. ให้คำแนะนำและช่วยเหลือสนับสนุนการประชาสัมพันธ์งานของ   สถานีตำรวจ
  8. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการ  อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ กต.ตร.สน./สภ. มอบหมาย
  9. รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ   (ก.ต.ช.) ทราบ ตามที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) กำหนด
  10. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มอบหมาย

คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ 

สถานีตำรวจภูธรเฉลิมพระเกียรติ (กต.ตร.สภ.เฉลิมพระเกียรติ)

 

เอกสารอ้างอิง : วิธีการสรรหาคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจสถานีตำรวจภูธร (กต.ตร.สภ.)

ที่มา : คู่มือการดำเนินการตามระเบียบ ก.ต.ช.ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2546
จาก https://www.boardofroyalthaipolice.go.th/th/pages/10256-%E0%B8%84%E0%B8%B9% 

ผลการดำเนินงานของ กต.ตร.สภ.เฉลิมพระเกียรติ

 

** ข้อมูล ณ วันที่ 30 มี.ค. 2567